Movie : Google the world brain หนังสารคดีที่เล่าเรื่องโปรเจคเหมือนฝันของกูเกิ้ลที่จะทำการสแกนหนังสือทุกเล่มบนโลกใบนี้ เพื่ออัพโหลดขึ้นเว็บไซต์และให้คนเข้าไปอ่าน หรือง่ายๆคือกูเกิ้ลกำลังทำโปรเจคห้องสมุดของโลกนั่นเอง แต่ติดปัญหาอยู่นิดเดียวเอง คือ เรื่องของ “ลิขสิทธิ์”
ได้มีโอกาสไปดูภาพยนตร์สารคดี ในเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสังคมมาเรื่องนึง ชื่อเรื่องว่า Urbanized เป็นสารคดีที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองในแง่มุมต่างๆทั่วโลก ที่จับเอาประเด็นมาเชื่อโยงต่อๆกัน ได้อย่างน่าสนใจในแง่มุมของการกระจายตัว หรือแนวคิดหลากหลายอย่าง หนังเกริ่นด้วยหลักการพื้นฐานของการพัฒนาและขยายตัวของเมือง คือจะต้องวางแผนจัดการอย่างรัดกุม เพื่อรองรับการเติบโตและการเข้ามาอยู่ในเมืองของประชากรที่จะมีเพิ่มขึ้นๆ วางแผนเพื่อให้คุณภาพการอยู่อาศัยดีขึ้นและลดปัญหารื่องคุณภาพการอยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยเดิม โดยเริ่มเล่าเรื่องจากเมืองมุมไบ เมืองที่จะกลายเป็นเมืองที่หนาแน่นที่สุดในโลกในอนาคต แต่เมืองขาดการวางแผนจัดการที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาเมือง ทำเป็นลืมพวกเขาไปและปล่อยให้อยู่กับสลัมกันอย่างแออัด แนวคิดแปลกๆอย่างการจำกัดสุขาภิบาล โดยจากการศึกษาพบว่า1ห้องน้ำควรรองรับสัก50คนหรือ10ครัวเรือน แต่ที่มุมไบรองรับไปถึง600คน ซึ่งลดมาจาก900คนต่อห้องน้ำแล้ว โดยภาครัฐมีแนวคิดที่จะจำกัดการย้ายเข้าสู่ตัวเมืองโดยการจำกัดห้องน้ำ! อาสาสมัครจึงกัดไปเบาๆว่าอย่างกับคนจะย้ายเข้ามาเพื่อเข้าห้องน้ำงั้นล่ะ เป็นการแสดงให้เห็นกลายๆว่าเป้นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดเลย ในขณะที่ประเทศชิลี ได้มีหน่วยงาน(?)ที่ลุกขึ้นมาจัดการเรื่องนี้ ทำการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างบ้านเอื้ออาทร โดยใช้การออกแบบเข้ามาช่วยจัดการภายใต้งบประมาณที่จำกัด และจัดทำไม่ใช่แค่การฟังเสียงหรือทำตามนโยบายนักการเมือง แต่เป็นการคิดถึงชุมชนที่อยู่อาศัยจริงๆ ผู้ออกแบบเข้าใจดีว่าความเป็นชุมชนไม่สามารถมีแค่ที่อยู่อาศัยได้ แต่ต้องประกอบไปด้วยหน่วยย่อยอื่นๆของสังคมอีก หัวใจสำคัญคือเรื่องทำเลที่ตั้ง ฉะนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งมาสำหรับที่ดิน และงานระบบ เหลือจึงเป็นค่าก่อสร้างบ้าน โดยผู้ออกแบบใส่ใจชุมชน และรับฟัง เปิดกว้างให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยจัดาร้างแบบครึ่งเดียว มีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นให้ ที่เหลือเป็นไอเดียและความฝันของผู้อยู่อาศัยที่จะตกแต่งกันต่อไปตามแต่ละคน อ่างอาบน้ำหรือที่ทำน้ำร้อน? ถามนักการเมืองนักเคลื่อนไหว ก็เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นกัน แต่กับชาวบ้านผู้ยากไร้ที่ไม่เคยมีพื้นที่ส่วนตัวเลย พวกเขาจะต้องการอะไรมากไปกว่าอ่างอาบน้ำล่ะ พสกเขาจะต้องการเครื่องทำน้ำร้อนไปทำไม ในเมื่อส่วนใหญ่แทบจะไม่มีเงินค่าแก้สมาจุดเคื่องทำน้ำร้อนด้วยซ้ำ จากแนวคิดของการพัฒนาพื้นที่ โดยมีทุกอย่างอยู่ในชุมชน ไล่ไปสู่แนวความคิดของการพัฒนาเมืองโดยแยกส่วนต่างๆออกจากกัน ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาเมืองบราซิเลีย ในบราซิล ที่ทุกอย่างถูกวางผังออกแบบอย่างสวยงาม …