ได้มีโอกาสไปดูภาพยนตร์สารคดี ในเทศกาลภาพยนตร์เพื่อสังคมมาเรื่องนึง ชื่อเรื่องว่า Urbanized เป็นสารคดีที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองในแง่มุมต่างๆทั่วโลก ที่จับเอาประเด็นมาเชื่อโยงต่อๆกัน ได้อย่างน่าสนใจในแง่มุมของการกระจายตัว หรือแนวคิดหลากหลายอย่าง
หนังเกริ่นด้วยหลักการพื้นฐานของการพัฒนาและขยายตัวของเมือง คือจะต้องวางแผนจัดการอย่างรัดกุม เพื่อรองรับการเติบโตและการเข้ามาอยู่ในเมืองของประชากรที่จะมีเพิ่มขึ้นๆ วางแผนเพื่อให้คุณภาพการอยู่อาศัยดีขึ้นและลดปัญหารื่องคุณภาพการอยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยเดิม
โดยเริ่มเล่าเรื่องจากเมืองมุมไบ เมืองที่จะกลายเป็นเมืองที่หนาแน่นที่สุดในโลกในอนาคต แต่เมืองขาดการวางแผนจัดการที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาเมือง ทำเป็นลืมพวกเขาไปและปล่อยให้อยู่กับสลัมกันอย่างแออัด แนวคิดแปลกๆอย่างการจำกัดสุขาภิบาล โดยจากการศึกษาพบว่า1ห้องน้ำควรรองรับสัก50คนหรือ10ครัวเรือน แต่ที่มุมไบรองรับไปถึง600คน ซึ่งลดมาจาก900คนต่อห้องน้ำแล้ว โดยภาครัฐมีแนวคิดที่จะจำกัดการย้ายเข้าสู่ตัวเมืองโดยการจำกัดห้องน้ำ! อาสาสมัครจึงกัดไปเบาๆว่าอย่างกับคนจะย้ายเข้ามาเพื่อเข้าห้องน้ำงั้นล่ะ เป็นการแสดงให้เห็นกลายๆว่าเป้นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดเลย
ในขณะที่ประเทศชิลี ได้มีหน่วยงาน(?)ที่ลุกขึ้นมาจัดการเรื่องนี้ ทำการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างบ้านเอื้ออาทร โดยใช้การออกแบบเข้ามาช่วยจัดการภายใต้งบประมาณที่จำกัด และจัดทำไม่ใช่แค่การฟังเสียงหรือทำตามนโยบายนักการเมือง แต่เป็นการคิดถึงชุมชนที่อยู่อาศัยจริงๆ ผู้ออกแบบเข้าใจดีว่าความเป็นชุมชนไม่สามารถมีแค่ที่อยู่อาศัยได้ แต่ต้องประกอบไปด้วยหน่วยย่อยอื่นๆของสังคมอีก หัวใจสำคัญคือเรื่องทำเลที่ตั้ง ฉะนั้นงบประมาณจึงถูกแบ่งมาสำหรับที่ดิน และงานระบบ เหลือจึงเป็นค่าก่อสร้างบ้าน โดยผู้ออกแบบใส่ใจชุมชน และรับฟัง เปิดกว้างให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยจัดาร้างแบบครึ่งเดียว มีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นให้ ที่เหลือเป็นไอเดียและความฝันของผู้อยู่อาศัยที่จะตกแต่งกันต่อไปตามแต่ละคน อ่างอาบน้ำหรือที่ทำน้ำร้อน? ถามนักการเมืองนักเคลื่อนไหว ก็เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นกัน แต่กับชาวบ้านผู้ยากไร้ที่ไม่เคยมีพื้นที่ส่วนตัวเลย พวกเขาจะต้องการอะไรมากไปกว่าอ่างอาบน้ำล่ะ พสกเขาจะต้องการเครื่องทำน้ำร้อนไปทำไม ในเมื่อส่วนใหญ่แทบจะไม่มีเงินค่าแก้สมาจุดเคื่องทำน้ำร้อนด้วยซ้ำ
จากแนวคิดของการพัฒนาพื้นที่ โดยมีทุกอย่างอยู่ในชุมชน ไล่ไปสู่แนวความคิดของการพัฒนาเมืองโดยแยกส่วนต่างๆออกจากกัน ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาเมืองบราซิเลีย ในบราซิล ที่ทุกอย่างถูกวางผังออกแบบอย่างสวยงาม ถ้าเพียงแต่จะดูจากบนฟ้า แต่ในความเป็นจริงมันกลับทำให้คนต้องเดินต่อกันเป็นไมล์ไปเรื่อยๆบนถนนตรงๆ
ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการใช้รถและปริมาณรุมหาศาล ปัญหารถติดไม่ได้เกิดจากปริมาณรถ แต่เกิดจากปริมาณการเดินทางที่เกิดขึ้น เพื่อเชื่อมต่อตัวเองเข้ากับเมืองต่างๆ ซึ่งที่โคลัมเบียกลับมีวิธีการจัดการที่น่าสนใจ รถยิ่งเยอะ ทางแก้ที่ถูกต้องไม่ใช่การยิ่งขยายถนนไปรองรับ แต่เป็นการจำกัดการใช้รถ จำกัดที่จอดรถ ซึ่งโคลัมเบียได้ออกแบบระบบขนส่งมวลชนเพื่อช่วยในการเชื่อมต่อ และให้สิทธิแก่ผู้ใช้บริการสาธารณะมากกว่าผู้ใช้รถส่วนตัว หลักประชาธิปไตยง่่ายๆเลย รถที่บรรทุกคนร้อยคนย่อมมีเสียงมีสิทธิบนถนนมากกว่ารถที่บรรทุกคนเพียงคนเดียว ซึ่งนำมาสู่ระบบสถานีรถเมลล์ ที่ออกแบบมาให้วิ่งบนเลนพิเศษ ประหยัดงบประมาณมากกว่าการสร้างรถใต้ดิน เพราะนายกเทศมนตรีเชื่อว่าศูนย์กลางของเมืองขยับเคลื่อนไปเรื่อยๆ การลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่จะเป็นภาระมากเกินไป และเป็นการปรับภาพลักษณ์ของรถเมลล์ให้คนมาใช้มากขึ้น แถมมีเลนพิเศษด้วย
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อชุมชนเข้ากับเมือง โดยจัดสร้างทางจักรยานและทางเท้า ให้แก่ชาวบ้าน ส่วนรถยนต์ต้องวิ่งบนถนนโคลนต่อไป
ซึ่งเชื่อมต่อมาที่เดนมาร์ก ที่ซึ่งหลายๆคนใช้จักรยานกันเป็นล่ำเป็นสันในการเดินทาง และทางการก็มีการออกแบบที่เอื้อต่อจักรยาน เช่น เอาเลนจอดรถมาบังอันตรายให้เลนจักรยาน ทำให้ระยะของเมืองเล็กลง ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมากขึ้น
และก็โยงมาถึงเรื่องการลดการใช้พลังงานโดยยกตัวอย่าง ไทดี้สตรีทในอังกฤษ ที่มีอาสาสมัครมารณรงค์การลดการใช้ไฟฟ้า แต่ไม่ได้ทำด้วยวิธีแบบทั่วๆไปอย่างการแจกใบปลิว แต่มีแนวคิดที่เจ๋งกว่านั้นคือ การพ่นสีแสดงการใช้ไฟฟ้าไว้บนถนน แสดงความคืบหน้าทุกอาทิตย์ ผ่านหน้าบ้านของชุมชนบนถนน ทำให้ชุมชนเริ่มมีส่วนร่วม มีการติดตามดูผลของตัวเองเทียบกับค่าลี่ยของชุมชน ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับการลดการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เพราะความรู้สึกที่ถ้าคนเราเห็นความคืบหน้า เราจะมีกำลังใจดำเนินการต่อไป และอีกความรู้สึกคือการได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
และก็ตัดมายกตัวอย่างที่ชาวเมืองลุกขึ้นมาทำเพื่อเมืองของตัวเอง ที่ดีทรอยต์ อดีตเมืองใหญ่ที่ลดขนาดตัวเองลงมาอย่างมาก จนมีที่รกร้างว่างเปล่า จนชาวเมืองที่เติบโตกับเมืองนี้มาทนเห็นไม่ไหวแล้ว ลุกขึ้นมาปรับปรุงด้วยการทำแปลงผักบนที่รกร้างว่างเปล่า แจกจ่ายให้แก่ผู้ผ่านไปมา ซึ่งกระแสสวนผักของดีทรอยต์ก็กำลังเริ่มมา มีตลาดให้จับจ่ายสินค้า มาพบปะกัน และเมืองก็กำลังสร้างตัวเองใหม่ในรูปแบบของตัวเองอีกครั้ง
หรือเมืองที่พายุแคทรีน่าพัดไปถล่ม กลายเป็นที่รกร้าง และชาวเมืองคนนึงก็ได้เริ่มลุกมาทำอะไรกับเมืองแล้ว ด้วยการทำสติ้กเกอร์ไปติดไว้บนอาคาร และเว้นช่องว่าให้คนกรอกว่าต้องการให้ที่นี่เป็นอะไร เห็นได้ว่าชุมชน มีส่วนร่วมกับเมืองมากกว่าการรอดำเนินการจากภาครัฐ แม้สุดท้ายหนังไม่ได้บอกว่าอาคารลงเอยอย่างนั้นหรือไม่ แต่ชาวเมืองได้บอกมุมของเค้าแล้ว เป็นการสร้างเมืองในรูปแบบที่ได้มีส่วนร่วมแล้ว แบรดพิทท์ กับสถาปนิกหลายๆคนเริ่มเข้าไปสร้างบ้านอยู่แล้ว แต่สถาปนิกเจ๋งๆใช่ว่าจะได้บ้านเจ๋งๆถ้าอยู่บนสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
หรืออย่างไฮไลน์ในนิวยอร์ค ที่เกิดขึ้นจากชาวเมืองในชุมชนนั้น ร่วมกันพลิกฟื้นเส้นทางรถไฟนี้กลับมาเป็นที่พักผ่อนของเมือง ซึ่งแสดงถึงการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แม้ตอนแรกนิวยอร์คจะมีแนวคิดการจัดการที่พัฒนาเมืองจากมุมมองเหนือพื้นดิน แต่กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่า การพัฒนาไม่อาจมองจากบนลงมาได้ ควรจะต้องอยู่ในแนวระดับสายตาของคน เพราะคนเรามองได้ในระยะที่ยังสบายความรู้สึกคือร้อยเมตร นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้จตุรัสเมืองเก่าๆจะมีขนาดร้อยเมตร
เห็นอะไรไหม สิ่งที่คล้ายกันทั้งหมดคือเมืองที่เป็นชุมชนของพลเมือง เพราะเมืองที่ไม่มีพลเมือง คงไม่อาจเรียกว่าเป็นเมืองได้เท่าไหร่ แต่สิ่งที่จะทำให้ชุมชน ทำให้เมืองเปลี่ยนแปลงได้คือ คนในชุมชน คนในเมืองนั้นนั่นแหละ แต่การจะทำให้เกิดสิ่งนี้ได้ เราต้องทำให้ชาวบ้าน ชาวเมืองรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งก่อน นำเข้ามาอยู่ในกรอบ นำเข้ามากำหนดกรอบของชุมชนนั้น ไม่ใช่ฝากอำนาจไว้ในมือภาครัฐอย่างเดียว เพราะถ้าไม่อย่างนั้น คนก้จะไม่มีความรู้สึกอยากจะทำเพื่อชุมชน ไม่มีความเสียสละเกิดขึ้น สิ่งที่จะควบคุมการดำเนินงานในชุมชนก็จะมีเพียงแค่กฎหมาย แต่กติกาสาธารณะไม่มี เพราะความคิดที่ว่าไม่ผิดกฎหมายก็ไม่เป็นไร แม้จะเป็นการเอาเปรียบเบียดเบียนต่อสาธารณะ ซึ่งความเป็นส่วนหนึ่งสิ่งนี้แหละที่เป็นหัวใจสำคัญให้คนรู้จักรักและหวงแหนชุมชนของตน อยากจะพัฒนาทำสิ่งที่ดีให้แก่ชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมเราขาดหายไป
ซึ่งแนวคิดการพัฒนาให้เกิดเป็นชุมชนได้ถูกนำมาแสดงอย่างกลายๆผ่านโครงการVPUU ในเคปทาวน์แอฟริกาใต้ ที่มีการพัฒนาความคิดปรับปรุงเมือง/township ที่เป็นที่อยู่ที่แยกออกมาจากตัวเมือง ที่มีแต่ที่อยุ่อาศัย ทุกคนมุ่งเน้นหลบอยู่แต่ในที่อยู่เพราะอัตราอาชญากรรมที่สูงมาก โดยการปรับปรุงเน้นแนวคิดเพื่อลดอัตราอาชญากรรม เพราะในชุมชนมีบ่อบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ที่ขาดการดูแลอย่างทั่วถึง ทำให้เปิดช่องว่างให้คนก่ออาชญกรรมได้ โดยได้เริ่มเข้าไปแก้ปัญหาที่แสงไฟ เพิ่มแสงไฟในทุกๆจุด ให้คนเดินทางเริ่มมีความรู้สึกปลอดภัย มีหอสังเกตการณ์ทุกๆช่วงเสาไฟ ทำให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถเริ่มเดินออกมาใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย มีที่ให้เด็กเล่น มีที่ให้ชุมชน เป็นการเริ่มสร้างชุมชนขึ้นมา
แต่แนวคิดนี้กลับไม่เป็นที่นิยมในปักกิ่ง ประเทศจีนสักเท่าไหร่ ด้วยจำนวนผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามา ทางจีนจึงต้องเร่งสร้างที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่สูงๆ เพื่อรองรับคนจำนวนมาก เป็นการพัฒนาเมืองตามแนวคิดของชาติตะวันตกเมื่อบยี่วิบปีก่อน ผลักให้คนเข้าไปอยู่อาศัยในกล่องมากขึ้น ซึ่งทำให้การติดต่อกันระหว่างชุมชนขาดหายไป ความเป็นส่วนหนึ่งหายไป เพราะแค่จะให้ลูกมาเล่นข้างล่างยังอาจจะเป็นเรื่องอันตรายได้เลย
หนังจบที่ว่าเมืองมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา(?)อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นวันแห่งการเปลี่ยนแปลงจะต้องเข้ามา และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ฟังเสียงชุมชนจะต้องได้รับการตอบแทน โดยยกตัวอย่างที่เมืองสตุ๊ดการ์ทประเทศเยอรมัน ได้มีโครงการปรับปรุงสถานีรถไฟขนานใหญ่เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคตข้างหน้า ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้จะต้องดำเนินการตัดต้นไม้ใหญ่ ทำลายอาคารเก่าแก่ของสถานีรถไฟเพื่อสร้างใหม่ ซึ่งภาครัฐเอาแต่อ้างอำนาจว่าได้ผ่านการประชาพิจารณ์แล้ว แต่ในมุมมองของผู้ประท้วงมันกลับเป็นการประชาพิจารณืที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างยากลำบาก การดำเนินการโครงการไม่มีความต่อเนื่อง เดี๋ยวจะสร้างแล้วก็เงียบหาย แล้วก็มาสร้างเลย ซึ่งผู้ประท้วงมองว่าไม่มีโอกาสให้พวกเค้าได้พูดคุยเลย ผู้ประท้วงมองว่าการพัฒนาที่ทำลายสิ่งเก่าๆไปไม่น่าใช่วิถีทางที่ถูกต้อง แต่ก็ไม่สามารถหยุดการดำเนินงานของภาครัฐได้ สุดท้ายต้นไม้ก็ถูกโค่น และรัฐก็ต้องตอบแทนด้วยการแพ้เลือกตั้ง ที่ฝ่ายตัวเองครองอำนาจมาอย่างยาวนาน
ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะไม่เกิดขึ้นในสังคมไทยเลย เพราะเรากำหนดว่าเบื้องบนมีอำนาจสั่งการลงมา ชุมชนชาวบ้านไม่มีผล และกระบวนการแสดงออกผ่านการเลือกตั้งก็ยังไม่สามารถทำได้ เราสามารถทำอะไรได้มากกว่าการกล้ำกลืนและฝืนทนหรือไม่? ยังเป็นสิ่งที่เป็นคำถามต่อไป