บันทึกของฉัน

บันทึกประจำวัน #3 ข้อสอบสังคม

ตอนนี้พอมีกระแสเฉลยข้อสอบสังคม โอเนต ม.6ผิดเลยลองโหลดมาดูว่าเด็กสมัยนี้เค้าเรียนอะไรกัน สอบอะไรกัน แต่ว่าพออ่านข้อสอบสังคมตอนนี้ เรากลับรู้สึกเสียใจ ที่ข้อสอบวิชาสังคม มันก็ยังเป็นข้อสอบสังคมแบบที่มันเคยเป็น ชอบเป็นแบบนี้หละ มันวัดแค่เรา”จำอะไรได้” ไม่ได้เพื่อวัดว่าเรา”เข้าใจอะไร” มันก็ยังไม่ได้มีไว้เพื่อวัดว่าเราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์ ความผิดพลาดในอดีตบ้าง แต่เท่าที่อ่านมา พบจุดที่สะกิดใจบางอย่าง ที่เมื่อก่อนก็ไม่เคยรู้สึกอะไร คือ ทำไมข้อสอบเน้นออกเรื่องพุทธศาสนาจัง…เรามีวิชานี้ เราเรียนวิชานี้ แต่มันแทบจะไม่แฟร์กับเด็กที่นับถือศาสนาอื่นเลย (แม้ในความเป็นจริงจะถือว่าแฟร์แหละนะ เพราะเด็กพุทธส่วนใหญ่ก็ใช่จะรู้เรื่องพุทธศาสนา เข้าวัดกันรัวๆ หรือวัดจะสอนเรื่องนี้ถ้าเราเข้า..อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ประสบการณ์ที่ไปวัดมา ก็แทบไม่เคยเจอ) แต่ทำไมเราถึงได้ออกข้อสอบเน้นแต่ศาสนาพุทธล่ะ?? โอเค มันมีข้อสอบศาสนาอื่นด้วย แต่สัดส่วน พุทธศาสนา 8 ข้อ อิสลาม 3 ข้อ คริสต์ 2 ข้อ…ไม่น่าเรียกว่าเท่าเทียมมั้ง

บันทึกประจำวัน #2 งานหนังสือ

ความสะดวกสบายบางทีก็ลดทอนความทรงจำได้นะ สมัยก่อนการจะมางานหนังสือแต่ละทีเป็นเรื่องที่ต้องรอคอย และไม่ใช่ง่ายๆ ต้องรอวันหยุดแม่ รถเมล์เป็นสิบสายต้องขึ้นแค่137 สายเดียว (จริงๆ73ก.กับ514ก็น่าจะได้ แต่จำไม่ได้มีหรือยัง สมัยนั้นยังมี126อยู่เลย) ไปลงแถวรัชดาและต่อรถสาย136เท่านั้นมาลงศูนย์สิริกิติ์ ตื่นแต่เช้า เดินยันปิด งานจัดสิบวันมาได้เต็มที่2วัน(ส่วนมากจะแค่วันเดียว) เป็นอะไรที่ยังจำได้ดีจนทุกวันนี้ แต่เดี๋ยวนี้นั่งรถใต้ดินมาแปปเดียว ไปธุระโน่นนี่ แวะมาแว้บๆก็ได้ไม่ได้เดินทางลำบากอะไร ก็แอบอยากรู้ว่าเด็กสมัยนี้จะจำความรู้สึกที่มางานหนังสือในรูปแบบไหนนะ แต่นั่งอ่านบนพื้น อยากรีบกลับไปอ่านคงรู้สึกไม่ต่างกัน

บันทึกประจำวัน #1 ร้านสมัยเด็ก

เคยมีความคิดไหมว่า เวลาเรากลับไปทานร้านเดิมๆในอดีตที่เคยกินที่เคยชอบกินแล้ว บางครั้งถึงรู้สึกว่าทำไมมันไม่อร่อยเหมือนเดิมแล้ว? อย่างตอนเด็กๆชอบฟูจิมาก แต่ตอนนี้ไม่อยู่ในรายชื่อที่จะเลือกกินเลยด้วยซ้ำ นานๆกินที รู้สึกว่ามันก็ธรรมดา ร้านบะหมี่ของป้าตรงซอยบ้าน ตอนเด็กๆกินรัวๆทุกวัน แต่ตอนนี้เดินผ่านเฉยๆ นานๆจะกินสักที รู้สึกว่ารสชาติเปลี่ยนไป มานั่งคิดๆดูบางทีไม่ใช่ร้านหรอกที่เปลี่ยนรสชาติไป แต่เป็นเราเองที่เปลี่ยนไป ออกไปเจอร้านอร่อยๆมากขึ้น กินของดีมากขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น เดินทางไกลขึ้น เรากินของที่อร่อยมากขึ้น เราถึงรู้สึกว่าร้านนั้นรสชาติไม่อร่อยเลย อาจจะเพราะเราเอาไปเปรียบเทียบกัน ไม่รู้สิ ใครว่าเราจะไม่เปลี่ยนไปเลยไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน มันดูเป็นไปไม่ได้ เพราะแค่การโตขึ้นก็ทำให้เราเปลี่ยนไปได้ อย่างเช่น ลิ้นรับรสชาติของเรา แต่บางร้านก็ทำห่วยลงจริงๆ…แต่ที่ยังกิน ทั้งๆที่รู้ คงเพราะเราไม่ได้กินเพื่อรสชาติแล้ว แต่ไปกินเพราะมันนึกถึงเรื่องในอดีตมากกว่า…

บันทึกชีวิตชาวเกาะ #2 ที่สมุยมีงานชิวๆให้ทำ!

อย่างหนึ่งที่รู้สึกอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่มาอยู่เกาะ คือ พนักงานตามร้านต่างๆ ที่นี่ ทำงานแบบอยู่บนเส้นแบ่งของคำว่าสโลว์ไลฟ์กับเอื่อยเฉื่อยมาก เป็นบรรยากาศการให้บริการที่จะไม่มีวันพบเห็นได้ที่กรุงเทพเลย บรรยากาศที่ถามเรื่องโปรโมชั่นแล้วพนักงานมารุมล้อมเราทีสามสี่คน ไม่ใช่มารุมขายนะ มารุมช่วยกันอธิบาย (แถมแม่งไปคนละทางอีก) สรุปทั้งร้านแทบไม่มีคนรู้เรื่องโปรโมชั่นที่ส่วนกลางออกมาเลย ถามไปตอบงง ถามอีกทีตอบคนละอย่าง มานั่งคิดๆดูไม่รู้ว่าเพราะมันเป็นวิถีที่ชิวๆสบายๆ เรื่อยๆที่คนที่นี่ชิน หรือว่าเพราะการแข่งขันในการหางานมันไม่สูงก็ไม่แน่ใจ คือมันไม่ได้มีงานมากมายเหมือนในกรุงเทพ ที่นี่มีแค่งานโรงแรม ร้านอาหาร ร้านเล็กน้อย และงานขายในศูนย์การค้า ไม่นับพวกงานเฉพาะทางแบบหมอ ครูอะไรทำนองนี้นะ เพราะตลาดงานมันไม่ได้กว้างหรือป่าว คนที่ปักหลักเลยอาจจะไม่ขวนขวาย หรือทะเยอทะยาน งานบริการเลยออกมาเฉื่อยๆ คือทำแค่นี้ก็อยู๋ได้แล้ว ทำมากกว่านี้ก็อยู่แบบเดิมอยู่ดี หรือก็เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ เพราะเจอพยักงานที่ดูงงๆในงานที่ตัวเองทำอยู่เนืองๆ (ถึงขนาดเคยต้องอธิบายเรื่องบัตรM-Gen ให้พนักงานเมเจอร์ฟังมาแล้ว) จะว่าดีก็ดี จะว่าไม่ดีก็ไม่ดี ทำงานไม่มีความกดดันนะ แต่คนรับบริการกดดันมากเหมือนไปสร้างความลำบากให้พนักงานเลย ลูกค้าก็เลยสโลว์ไลฟ์ตามไปเลย…! ใครเครียดและรู้สึกกดดันจากงานที่กรุงเทพ ลองหางานบนเกาะสมุยดูนะ….

บันทึกชีวิตชาวเกาะ #1 ชีวิตช้าๆบนเกาะสมุย

เราค่อนข้างเชื่อนะว่าการดูวิถีชีวิตคนแต่ละท้องที่ เราสามารถเช็คง่ายๆได้ในร้านหนังสือนะ เหมือนที่เค้าบอกว่าถ้าอยากดูวัฒนธรรมความคิดคนชาติไหน ให้ดูพาดหัวหนังสือพิมพ์ชาตินั้น . ขณะที่กรุงเทพ ของแพงค่าครองชีพสูง การแข่งขันสูง เมืองแห่งโอกาส(จริงๆ มาอยู่ต่างจังหวัดแปปเดียวสัมผัสได้เลย มีโอกาสจะมาต่อเรื่องนี้) มีความกดดันอยู่ลึกๆให้รวย จะได้อยู่สบายๆในเมืองที่แหลมหน้าออกนอกบ้านแบงค์ร้อยก็ปลิวว่อน หนังสือยอดฮิตแน่นอน หนังสือเสริมสร้างความร่ำรวย ชี้ช่องรวย รวยด้วยหุ้น รวยง่าย รวยเร็ว ดูดวง . พอมาอยู่เกาะ หนังสือขายดีอันดับ1-10ยกแผงกวาดทั้งชั้นคือ…..หนังสือปลูกผัก ทำเกษตร

เอ้ะ อะไรนะ #2

เปิดฉากเล่ห์รตี พระเอกไปโวยวายหน้าบ้านนางเอก พร้อมสั่งให้ลูกน้องพังประตู….ลูกน้องจบที่จะปีนเข้าบ้าน และพระเอกจบที่จะขับรถพุ่งชน….ประตูบ้านนางเอกเป็นเหล็ก /ห้ะ พระนางเถียงกันรู้แค่โกงๆ และตบเพี้ยะ ไม่มีอธิบายเอกสารใด เอาไว้ขว้างใส่เท่านั้น /ห้ะ พระเอกจับนางเอกไปขังโดยห้ามออกมาโดยจับไปขัง…ในห้องน้ำ ที่ล็อกจากด้านใน /ห้ะ ขนาดชนชั้นกลางยังมีคนใช้สองคนเลยทีเดียว

เดอะว๊อยซ์ เสียงจริง ตัวจริง รอบชิง ไม่อิงสตั๊นท์แมน

เดอะวอยซ์ปีนี้เป็นปีแรกที่ดูแบบจริงจังตั้งใจมากกกก จำผู้เข้าแข่งขันได้เกือบหมด ดูย้อนคลิปบลายด์หลายรอบมาก ส่วนของคุณภาพนักร้องในฐานะมือใหม่ที่หูแบบทั่วไปมาก คือถ้าไม่เพี้ยนโดดเด่น ดีโดดเด่นก็รู้สึกว่าทุกเพลงเพราะหมด (เอาจริงว่าดูยันจบยังไม่รู้สึกว่ามีใครที่ร้องไม่ดีเลย ไม่นับพวกเทคนิคอะไรแบบนั้นนะ ฟังไม่ออก) ส่วนตัวมองว่ารอบบลายด์มีผลมากเลย ที่จะทำให้ใครคนนึง ”โดดเด่น”และ ”จำได้” ขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับรายการ”ประกวด” ที่อิงจากการ ”โหวต” เพียงแต่เดอะว๊อยซ์ไม่ได้ให้โอกาสเรา “โหวต” ตามใจเรา100% เพราะระบบการแข่งขันคือโค้ชจะช่วยเลือกมาให้เราแล้วในระดับนึง – แน่นอนเพราะเป็นการโหวต จึงมากับความคาดหวัง…บางอย่าง

Uber แบบไทยๆ

ท่าทีของกรมขนส่งทางบกต่อUber เป็นอะไรที่ตลกมาก แค่รู้สึกว่านี่ระบบความคิดแบบราชการมันมาครอบการพัฒนาไปหมดแล้ว ประเด็นที่สะดุดใจที่สุดที่กรมการขนส่งอ้างเรื่องUber ผิด (นอกจากการใช้รถผิดประเภท ซึ่งก็ผิดจริงตามนั้น) แต่อีกสองเรื่องที่เหลือนี่บอกตรงๆว่ากรุงงมากฮะ เรื่องแรก ค่าโดยสารแพงกว่าปกติ มากกว่าราคามาตรฐานที่ตั้ง คือแบบ งงมากว่ามันถือว่าผิดได้จริงๆหรอ โอเครในแง่กฎหมายมันอาจจะผิด แต่ในแง่ของธุรกิจแล้ว Uber มันคือแท๊กซี่เฟิร์สคลาสหรือป่าว แบบพัฒนาบริการมาเหนือระดับ ให้คนยินดีที่จะจ่ายแพงขึ้นเพื่อบริการที่ดีขึ้นหรือป่าว? การเอามาตรฐานราคามาตีกรอบแล้วบอกว่าผิด ส่วนตัวคิดว่ามันแปลกมาก เพราะUber เองบอกชัดอยู่แล้วว่าตัวเองแพงกว่า ถ้าอยากนั่งราคาปกติไปใช้แท๊กซี่ทั่วไปได้ คนใช้บริการนี่คือเรื่องของความพอใจล้วนๆเลยนะ แต่กลายเป็น่วาประชาชนอยากได้บริการที่ดีขึ้นและยอมจ่ายราคาแพงขึ้นเป็นเรื่องผิด แต่แท๊กซี่เหมา ปิดมิเตอร์นี่ก็มีวิ่งกันให้เพียบเลยแหะ เรื่องถัดมาคือ การใช้บัตรเครดิตอาจจะถูกหลอกลวงได้ โอ้ยยยยยยยมายยยยย นี่เป็นอะไรที่ช็อกและงงมาก ว่าจริงหรือ นี่คือหนึ่งในสาเหตุที่Uberผิด ภาษาชาวบ้านคือล้อกรุเล่นปะเนี่ย คือท่านอธิบดีอาจจะต้องทำความเข้าใจว่าบัตรเครดิตเนี่ยมันไม่ใช่รูดผ่าน รูดผ่าน มันจะต้องมีการกรอกรหัสอยู่ แต่ แน่นอนมันมีความเสี่ยงในระดับหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้อย่างไม่ระวัง แต่มันก็เป็นทางเลือกนึงในการชำระเงินนอกไปจากเงินสด ซึ่งก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไร ใจคอไม่น่าจะล็อกให้มันจบอยู่แค่การจ่ายเงินสด ซึ่งบางทีเป็นจ่ายเงินแบบที่ไม่ได้ทอนด้วยน่ะสิ แถมส่วนใหญ่ก็เน้นปัดขึ้นน่ะสิ (บางทีก็ไม่อยากปัดหรอก ไม่ได้ประทับใจบริการอะไรขนาดนั้น) สิ่งที่ทำให้ทึ่งที่สุดในการอยู่ในสังคมไทย คือความเห็นของผู้หลักผู้ใหญ่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องนี่แหละ โทร191ไม่ติด บอกคนโทรไม่ได้โทรมา มีบริการแท๊กซี่ที่ดีขึ้นไม่ยอมให้ประชาชนใช้ ให้อยู่กับระบบเดิมๆ ทั้งหมดแทนที่จะบอกว่าจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร จะแก้เรื่องเบอร์191ยัไง …

คนในความทรงจำ : ลุงหมูปิ้ง

บล็อกนี้เป็นตอนใหม่ที่จะเริ่มเขียนเพื่อจดคนในความทรงจำหลายๆคนลงมาจากสมอง ขอประเดิมด้วยลุงหมูปิ้งเป็นคนแรก !! …ไม่ใช่อะไรหรอก เขียนทิ้งไว้นานแล้วต่างหาก วันนี้ระหว่างทางเดินกลับบ้าน ใกล้ถึงสี่แยกประจำ ก็พาลนึกถึงบุคคลคนนึงขึ้นมา…ลุงหมูปิ้งตรงสี่แยก ลุงขายหมูปิ้งข้าวเหนียว ตับย่าง และเครื่องในสักอย่างย่าง(ไม่เคยซื้อกินเลย) ปิ้งบนเตาถ่าน แต่ไม่มีตะแกรงกั้นคราบเขม่าใดๆ ปิ้งๆรมควันกันไปนั่นล่ะ ลุงมีลักษณะของคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำกินในกรุงเทพ ลุงมาขายตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้เหมือนกัน แต่จำความได้ก็พึ่งพาแกเป็นมื้อเย็นหลายครั้งอยู่ กิจการของลุงจะมาเริ่มตั้งแต่ช่วงเย็นๆ สี่ห้าโมงเป็นต้นไป จนถึงดึกดื่นเที่ยงคืนเลย สมัยนั้นลุงถือว่าผูกขาดตลาดกลางคืนเลยทีเดียว เพราะป้าร้านบะหมี่ก็ขายถึงแค่เย็นๆ แบ่งตลาดกันเรียบร้อย ลูกค้าขาประจำของลุงก็ยามแถวนั้น กินไป แกล้มเบียร์ไป เม้าท์กันไป จะมีหลุดเด็กน้อยไปซื้อบ้่างเป็นครั้งคราวช่วงห้าหกโมงเย็น เด็กที่หยุดซื้อเมื่อจับกลิ่นข้าวเหนียวได้ว่าลุงเอาของเก่ามาคลุกปนอีกและ แต่อีกอาทิตย์ก็กลับไปซื้ออยู่ดี จะว่ารสชาติอร่อยลืม ติดใจ ก็อาจจะใช่สำหรับสมัยนั้น ที่มีแค่ข้าวโรงเรียน อาหารตลาด บะหมี่ และหมูปิ้งร้านลุง อาจจะเป็นร้านหมูปิ้งเดียวที่กินก็ได้ หมูปิ้งของลุงเป็นหมูปิ้งผอมหยองกรอด คือสมัยนั้นจะเป็นหมูปิ้งความกว้าง ข้อครึ่งได้มั้ง เสียบไม้ปลายแหลม ขายไม้ละสามบาท สมัยที่ยี่สิบบาทซื้อหมูปิ้งได้เจ็ดไม้เลย รสชาติหวานๆ มีติดมันตรงโคนเล็กน้อย กินไปดูทีวีไป เพลินแท้ นอกจากหมูปิ้งแล้ว ลุงยังได้สอน?เป็นตัวอย่างให้เด็กน้อยคนนี้ถึงคำว่าเสียงดังไปสามบ้านแปดบ้าน ไม่สิคนที่สอนคือ…เมียลุง ที่มาทะเลาะ?(ด่า)ลุงตรงสี่แยกที่ลุงขายหมูปิ้งนั่นละ (ลุงตอบโต้ไหม ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ไม่ได้ยินเสียงลุง …